บริการรับเหมาถมที่ดิน

ผู้รับเหมาตัวจริงงานถมที่ดินในเขตกรุงเทพ

ปัญหาพื้นลานจอดรถทรุด กับแนวทางป้องกันแก้ไข

เรื่องของ พื้นทรุด นั้นมักเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านส่วนใหญ่พบเจออ่ะนะคะ โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่อยู่มานานหลายปี พื้นดินก็ย่อมจะมีการทรุดตัวตามธรรมชาติอยู่แล้ว  (โดยสถิติแล้วระดับพื้นดินในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอัตราการทรุดตัวเฉลี่ย 3-10 เซนติเมตร/ปี ) ซึ่งผลที่ตามมาคือพื้นคอนกรีตนอกบ้านรวมไปถึงพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของตัวบ้าน อาจแตกร้าวหรือทรุดได้ค่ะ ในวันนี้บล้อกบ้านแสนรักจะพาทุกท่านมาพิจารณาถึงจุดที่โดยทั่ว ไปจะได้รับผลกระทบจากการที่ดินทรุด และไอเดียที่เป็นแนวทางแก้ไขกัน ดังนี้นะคะ

พื้นที่แรกที่ค่อนข้างจะสุ่มเสี่ยงต่อการทรุดตัวลงมากกว่าบริเวณอื่นของตัวบ้าน ก็คือพื้นที่จอดรถนั่นเองค่ะ

พื้นที่จอดรถในบ้าน มักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก  เพราะเป็นบริเวณพื้นที่ที่ต้องรับน้ำหนักของรถที่ต้องเข้า-ออกและจอดทุกวัน โดยเฉลี่ยรถ 1 คัน ถ้าเป็นรถเก๋ง น้ำหนักก็จะอยู่ประมาณ 1,200-1,500กิโลกรัมต่อคัน หากเป็นรถกระบะ น้ำหนักเฉลี่ย ก็จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นประมาณ 1,600 กิโลกรัมต่อคัน จะเห็นได้ว่า ลานจอดรถในบ้านของเราต้องแบกรับน้ำหนักตลอดเวลาทุกวัน ทำให้เกิดการทรุดตัวได้ง่ายกว่าจุดอื่นอ่ะนะคะ


นอกจากที่ต้องแบกรับน้ำหนักรถแล้ว โดยทั่วไปเจ้าของบ้านก็มักจะทำ หลังคาโรงรถ เพื่อกันแดด กันฝนให้กับรถอีกด้วย เพราะราคารถสมัยนี้ ก็ราคาแพงไม่หนี ไปจากราคาบ้านเท่าไหร่แล้วล่ะค่ะ คนรักรถจึงมักจะต่อเติมโรงรถ มีหลังคาเพื่อคลุมกันแดดและกันฝน ซึ่งทำให้ต้องมีเสา อาจจะเป็น 4 ต้น หรือ 6 ต้น ก็แล้วแต่แบบและขนาดของโรงรถ เพื่อมารองรับน้ำหนักของหลังคา สรุปก็คือ ยิ่งทำให้พื้นที่จอดรถต้องแบกรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นไปอีก 

สำหรับไอเดีย การแก้ไขลานจอดรถทรุด นั้น คงต้องเริ่มที่เสารับหลังคาโรงจอดรถ ที่ต้องมีคานคอดินรัดโครงสร้างเสาด้านล่าง และควรฝังเดือยเหล็กยื่นจากข้างคานโผล่ออกมาก่อนเท ค.ส.ล.พื้นที่จอดรถ จะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง และหากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ เวลาเทปูนลานจอดรถ ก็ควรทำเส้นร่องแบ่งเป็นพื้นที่ เพื่อป้องกันการแตกร้าวบนพื้นผิวหน้าลามแผ่ไปทั่ว หากต้องมีการซ่อมแซมผิวหน้าจะได้ซ่อมเฉพาะในกรอบพื้นที่ที่แบ่งเส้นไว้ เหมือนที่เราเห็นเวลาซ่อมถนนทางหลวง ที่จะมีการแบ่งซ่อมตามแนวเส้นนั่นเองค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น