บริการรับเหมาถมที่ดิน

ผู้รับเหมาตัวจริงงานถมที่ดินในเขตกรุงเทพ

งานฐานราก ตอนที่ 1

ความจริงจะเขียนตอนทำฐานรากและตอม่อเสร็จเรียบร้อย แต่ว่าไปดูทุกวัน มันก็มี point ที่น่าสนุกทุกวัน ก็เลยคิดว่าเขียนเป็นตอนๆไปเลยดีกว่า เพราะถ้ารวมทีเดียวจนเสร็จ กลัวว่ารูปและข้อมูลมันจะเยอะมากจนตาลายเก็บไม่หมดครับ

  หลังจากตอกเสาเข็มเสร็จวันพฤหัส ก็ต้องรอกว่าจะวันจันทร์เพื่อมาตัดเข็ม และขุดดินทำ footing เพราะเสียงจะดัง หมู่บ้านผมไม่ให้ทำกิจกรรมก่อสร้างเสียงดังวันเสาร์-อาทิตย์ครับ ผรม.ต้องเชารถแบคโฮมาขุดดินและขนย้ายหัวเข็ม ซึ่งใช้เวลาสองวัน ถ้าทำวันศุกร์ จะเสร็จไม่ทันครับ ต้องแช่รถไว้จนถึงวันจันทร์ ก็ต้องเสียค่าเช่ารถอีก เลยขอเลื่อนมาทำวันจันทร์แทน...

สภาพหลังจากตัดหัวเข็มเสร็จ

การตัดเข็มนี้เป็นการตัดเข็มหยาบนะครับ คือตัดๆให้เสมอดินไปก่อน เพื่อขนย้ายหัวเข็มที่เหลือออกจากพื้นที่ไม่เกะกะการทำงานครับ ส่วนเสาที่เหลือ จำได้ไหมครับว่ายาวมากกก ผรม.เลยเอามาวางเรียงไว้ เพื่อรองเหล็กที่จะเข้าไซต์ไม่ให้โดนพื้นครับ ดีไปเลย ที่เหลือตอสั้นๆก็เอาไปรองพื้นใน Store เพื่อเก็บปูนไม่ให้โดนดินเช่นกัน 

เศษหัวเข็ม เอามาวางเรียงกันไว้รองเหล็กที่จะเข้าไซต์

หลังจากตัดเข็มหยาบๆ แบคโฮก็ขุดหลุมเพื่อจะทำฟุตติ้งครับ 

ขุดหลุมเตรียมทำฟุตติ้ง

ถึงตรงนี้ วิศวะกรของ ผรม.ก็แจ้งว่าระดับในแบบก่อสร้างมีปัญหา เพราะจะทำฟุตติ้งก็ต้องดูระดับพื้นที่เราจะยกกให้สูงเท่าไหร่จากถนน เพื่อให้ระดับเท่ากัน แต่ระดับดินถมในที่ดินผมสูงแค่ 70 cm. เอง อ้าววกรรมเลย แสดงว่ารถดินถมขาดไป เซ็งเลยผม ตอนถมเสร็จก้ไปวัดแล้วนะว่าได้เมตรนึง สงสัยไม่ได้บดแน่นแหงๆ ตอนถมผมก็ถามแล้วว่าบดแน่นหรือยัง ผรม.ถมดินก็บอกว่าบดแล้วๆ ก็เลยถามวิศวะไปว่าแก้ยังไง ต้องถมเพิ่มไหม เขาก็บอกว่าไม่ต้อง ถ้าจะ confirm ระดับให้สูงจากภนน 1 เมตรจริงๆ เขาจะกำหนดระดับฟุตติ้งและระดับคานใหม่ เพื่อให้ระดับพื้นโรงรถได้ +1 จากถนนตามแบบ ไม่งั้นแก้แบบกันขี้แตกเลย แก้แบบนี่ปัญหาใหญ่ครับ ผิดตัวเลขไป 1 ตัวนี่เพี้ยนไปไกลเลย แก้แค่ฟุตติ้งง่ายกว่า พอได้ระดับแล้ว จากนั้นก็เทลีน ตัดหัวเข็ม

หลังจากขุดหลุมเสร็จ ก็เทลีนหยาบรองฐานฟุตติ้ง โดยมีทรายหยาบรอง 5cm. และปูนหยาบ(ลีน) 5cm. ตามแบบที่วิศวะกรกำหนด

หัวเข็มหลังจากตัดอย่างละเอียดแล้วครับ โดยตัดสูงเหนือลีนประมาณ 5cm. และเหลือเหล็กโดเวลไว้ด้วย เพื่อผูกกับตอม่อ ผรม.บอกว่าไม่ต้องมีเหล็กโผล่มาก็ได้ เอาเหล็กฟุตติ้งวางบนหัวเข็มโล้นๆก็ได้ครับ แต่การที่มีเหล็กโผล่มามีข้อดีในการกันฟุตติ้งเคลื่นตกเข็มจากแผ่นดินไหวครับ

หลังจากตัดหัวเข็มแล้ว ผรม.จะตีเอ็นใหม่อีกครั้ง เพื่อหาศูนย์เสา และหาแนวตีเต๊า..ผมก็ไม่ทราบว่า "เต๊า" มันมาจากคำว่าอะไรเหมือนกัน แต่มันคือการตอกหมุดเป็นสี่มุม และดีดสีเป็นตารางเพื่อแสดงขอบเขตของฐานราก และเพื่อดูว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นตอกตรงศูนย์ หรือหนีศูนย์ไปหรือไม่ ซึ่งถ้าเข็มหนีศูนย์ต้องแก้ไข โดยจะมีวิธีแก้ต่างๆกัน

ฉีดน้ำล้าง ทำความสะอาดหัวเข็ม


ตีเต๊า เพื่อแสดงขอบฐานราก และดูศูนย์เข็มว่าไม่หนีฐาน รูปบนนั่นเต็าไม่ได้เอียงนะครับ ที่เอียงอ่ะลีน ตอนแรกผมก็ตกใจ

ผมเดินดูเองทุกต้นเลยครับ เอาสายวัดไปด้วย เพื่อวัดกรอบฐานรากให้ตรงตามแบบ พบว่ามีแค่ต้นเดียวที่เต๊าหนีศูนย์ ตามภาพ

ต้นนี้แหล่ะครับ สังเกตุรอยตัด เกือบหลุดเสา

ต้นนี้วิศวะแจ้งว่า เป็นต้นมุมบ้านชั้น 1 ไม่มีคานชั้นสองมารับแรง หลังคาเป็นห้องกระจก น้ำหนักไม่มากเหมือนหลังคาโมเนีย ทำให้ไม่ต้องปรับที่ฐานราก แต่แก้โดยเพิ่มขนาดคานและเหล็กเสริมแทนแค่คานเดียวก็พอครับ

ตอนนี้บ้านผมก็มาถึงตรงนี้ครับ เหล็กจะเข้าพรุ่งนี้ เพื่อทำการผูกเหล็ก ดัดเหล็กทำฐานราก ซึ่ง ผรม.บอกน่าจะพร้อมเทปูนจันทร์หน้า จะได้นัดรถปูนเข้ามาเททีเดียว ขั้นตอนเทปูนก็สำคัญครับ เอาไว้เทปูนเสร็จ ผมจะมาเล่าให้ฟัง

ลาไปด้วยภาพที่ดินที่เป็นหลุมๆอยู่เลยครับ อยากเห็นเสาเร็วๆจุงเบย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น